ทำไมเราต้องเรียนรู้ รูปแบบแท่งเทียน
การแปลความหมายจากกกราฟแท่งเทียนโดยวิเคราะห์รูปแท่งเทียนเพียง 1 แท่ง อาจจะยังให้ข้อมูลไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงมือเทรด เราจะต้องพิจาณาแท่งเทียนหลาย ๆ แท่งประกอบกัน ซึ่งจะใช้ข้อมูลพื้นฐานทั้ง 4 อย่างของแต่ละแท่งเทียน คือ ราคาเปิด ราคาปิด ราคาสูงสุด และราคาต่ำสุด มาเปรียบเทียบกันระหว่างแท่งเทียน
แต่ละแท่งด้วย
แท่งเทียนสามารถสื่อถึงอารมณ์ตลาดและความคิดของนักลงทุน ดังนั้นเวลาที่อ่านกราฟแท่งเทียนเราควรตอบคำถามเบื้องต้นให้ตัวเองได้ว่า ระหว่างฝั่งซื้อกับฝั่งขายฝั่งไหนมีแรงมากกว่า ฝั่งไหนที่มีความรีบร้อนกระตือรือร้นอยากลงมือซื้อขายกว่า เมื่อเราอ่านอารมณ์ของตลาดออกแล้ว เราก็จะสามารถตัดสินใจลงมืออย่างไร เพื่อให้ได้โอกาสในการได้กำไรจากการเทรดมากกว่าโอกาสขาดทุน แต่มันก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้นเพราะว่ารูปแบบแท่งเทียนนั้นมีมากมายเหลือเกิน
กราฟในตลาด Forex มีอยู่ 3 ประเภท คือ
- Bar Charts
- Candle Stick Charts
- Line Charts
เราจะสนใจแค่ 2 ข้อบน นะครับ เพราะว่า Line Charts จะแสดงเฉพาะราคาปิดของราคาที่แสดงออกมาในลักษณะเส้น ส่วนใหญ่มักใช้ในการหาแนวรับและแนวต้านเพียงเท่านั้น ยากต่อการเดาอารมณ์ตลาด เอาหละครับเรามาเริ่มเรียนรู้กันเลยดีกว่า
Line Charts
คำอธิบายจากรูปภาพ Line Charts
ข้อดี
- ดูมุมมองกราฟได้กว้าง
- เรียบง่ายและเข้าใจง่าย
- เหมาะสำหรับคนที่ไม่ชำนาญ
ข้อเสีย
- เสียข้อมูลบางส่วนไปไม่สามารถวิเคราะห์ได้หมด
- รู้เฉพาะราคาปิดไม่รู้ราคาสูงสุดและต่ำสุด
Bar Charts
คำอธิบายจากรูปภาพ
Bar Charts
ข้อดี
- มีข้อมูลครบถ้วน ราคา : เปิด,ปิด,สูงสุด,ต่ำสุด
- มีช่องว่างของราคา GAP และจุดกลับตัวหลัก (Key Reversal) ช่วยให้ผู้วิเคราะห์เข้าใจอารมณ์ตลาดหรือเกิดอะไรขึ้นกับตลาด
- มีความชัดเจนของรูปแบบราคาสูงและต่ำทำให้สามารถใช้เครื่องมือเช่น Trend Line ได้แม่นยำมากขึ้น
- สามารถเก็บรายละเอียดจาก High และ Low ได้ดี
ข้อเสีย
- ผู้ที่ใช้ต้องมีประสบการณ์ในการตีความหรือเข้าใจอารมณ์ตลาด
- ข้อมูลละเอียดมากคือมี High low open close มากเกินไป บางครั้งตาลาย จนทำให้การตีความกราฟเราผิดพลาดได้ง่าย
Candle Stick Charts
คำอธิบายจากรูปภาพ
Candle Stick Charts
ข้อดี
- เข้าใจง่าย ดูง่ายๆจากสี เขียวหรือแดง สามารถปรับสีอื่นแต่งได้
- มองอารมณ์ตลาดได้ง่ายจากเนื้อเทียน
- มีทฤษฎีให้ศึกษาต่อยอดมากมาย
ข้อเสีย
- ข้อมูลมากเกินไปบางครั้งอาจจดจำสับสน
- มีข้อมูลที่เป็น เวอร์ชันญี่ปุ่น และ เวอร์ชันฝรั่ง ทำให้ชื่อเรียกไม่เหมือนกัน อาจทำให้สับสน แต่ความหมายนั้นคล้ายคลึงกัน